วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ระทึก! อุกกาบาตพุ่งตกในรัสเซีย






 สำนักข่าวเอพี รายงานเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ว่า เกิดเหตุวัตถุปริศนาจากท้องฟ้าตกในรัสเซีย ส่งผลให้เกิดเสียงระเบิดตูมใหญ่ และทำให้มีผู้บาดเจ็บราว 100 คน

          รายงานระบุว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 15 กุมภาพันธ์ตามเวลาท้องถิ่น บริเวณเหนือเทือกเขาอูรอล ในแถบเชเลียบินสก์ ประเทศรัสเซีย จู่ ๆ ก็มีควันเมฆขนาดใหญ่ก่อตัวขึ้นบนท้องฟ้าเป็นทางยาวเหยียด คล้ายกับเครื่องบินไอพ่น ก่อนที่วัตถุปริศนาซึ่งคาดว่าจะเป็นอุกกาบาต หรือสะเก็ดดาว จะระเบิดบนชั้นบรรยากาศ ส่งเสียงดังไปทั่ว จนทำให้กระจกแตก ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนบางส่วนเสียหาย และโทรศัพท์มือถือใช้การไม่ได้

         จากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 102 คน ส่วนใหญ่บาดเจ็บจากเศษกระจกที่แตกเพราะเสียงระเบิด นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า เศษอุกกาบาตได้ทำให้กำแพงโรงงานผลิตสังกะสีเสียหาย

         ขณะที่บางแหล่งข่าวก็ได้รายงานว่า อุกกาบาตตกลงมาลูกเดียวเท่านั้น และยังไม่มีคำชี้แจงหรือคำยืนยันจากนาซา ว่าเป็นอุกกาบาตจริงหรือไม่ ส่วนสื่อมวลชนรัสเซียเอง ได้เผยว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการยิงมิสไซล์สกัดกั้นอุกกาบาตของทางการรัสเซีย และมิสไซล์ก็ได้ทำให้อุกกาบาตแตกเป็นเสี่ยงเหนือผิวโลก 20 กิโลเมตร แต่รายงานดังกล่าวก็เป็นเพียงข่าวลือ ยังไม่ได้รับการยืนยันจากกองทัพอากาศ หรือองค์กรการบินและอวกาศในรัสเซียแต่อย่างใด 

         ทั้งนี้ ทางการรัสเซียได้นำเครื่องบินขึ้น 3 ลำ เพื่อตรวจสอบพื้นที่ที่เสียหายแล้ว ขณะที่หลังเกิดเหตุ มีผู้เห็นเหตุการณ์ที่ได้บันทึกภาพปรากฏการณ์ดังกล่าวไว้ นำคลิปวิดีโอที่ถ่ายได้มาเผยแพร่เป็นจำนวนมาก

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เปิดตัว BlackBerry Z10


สำหรับตัวแรก BlackBerry Z10 สมาร์ทโฟนที่มาพร้อมหน้าจอสัมผัสทั้งตัวเครื่อง ไร้คีย์บอร์ด QWERTY ที่หลายคนคุ้นเคย ส่วนดีไซน์ก็เหมือนกับภาพหลุดทุกประการ ด้านสเปคใช้หน้าจอขนาด 4.2 นิ้ว ความละเอียด 1280 x 768 พิกเซล 356PPI (iPhone 5 - 326 PPI, Galaxy S3 - 306 PPI และ Note 2 – 267 PPI) มีซีพียูความเร็ว 1.5GHz Dual-Core แรม 2 GB หน่วยความจำภายใน 16 GB และมีกล้องหลังความละเอียด 8 ล้านพิกเซล กล้องด้านหน้า 2 ล้านพิกเซล รองรับ 4G LTE, NFC และแบตเตอรี่ความจุ 1800mAh 

BlackBerry Z10

          สเปคเบื้องต้นของ BlackBerry Z10

  ระบบปฏิบัติการ BlackBerry 10
  หน้าจอขนาด 4.2 นิ้ว ความละเอียด 1280×768 พิกเซล (356PPI)
  ซีพียู TI OMAP 4470 dual-core processor 1.5GHz, แรม 2GB
  หน่วยความจำภายใน 16GB และรองรับ MicroSD
  กล้องหน้า 2 ล้านพิกเซล และกล้องหลัง 8 ล้านพิกเซล
  รองรับการบันทึกวิดีโอ 1080p และ 720p
  แบตเตอรี่ 1800mAh
  เชื่อมต่อ Bluetooth 4.0, NFC และ Wi-Fi
  รองรับ 4G LTE
  ตัวเครื่องหนา 9.3 มิลลิเมตร และน้ำหนัก 138 กรัม
  ตัวเครื่องมี 2 สี ได้แก่ สีดำ และสีขาว 
  ฝาหลังทำตัว "glass weave cover" ที่ให้คุณสมบัติคือบางกว่า เบากว่า และแกร่งกว่าพลาสติก
  วางขายกับเครือข่าย Verizon แบบติดสัญญา 2 ปี ราคา $199.99 หรือประมาณ 6,000 บาท
  ราคาแบบไม่ติดสัญญาอยู่ที่ $599 หรือประมาณ 18,000 บาท

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

VRZO - รับน้องใหม่ [Ep.76 by ศรีปทุม]


ประเพณีการรับน้องเป็นประเพณีที่มีมานานแล้วทั่วโลก ทั้งในรูปแบบของแฟกกิง แรกกิง หรือ เฮซซิง ส่วนการรับน้องในสถาบันการศึกษานั้นเพิ่งจะเริ่มมีขึ้นประมาณ 700 ปีมาแล้วในทวีปยุโรป ต่อมาเมื่อชาวยุโรปไปตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาเหนือหรือเข้าไปยึดครองดินแดนต่างๆทั่วโลกเป็นอาณานิคม ก็นำเอาประเพณีการรับน้องเข้าสู่สถาบันการศึกษาติดตัวไปตามดินแดนต่างๆทั่วโลก เมื่อเวลาผ่านไปประเพณีรับน้องที่มาจากยุโรปนี้แม้ว่าจะเลือนหายไปจากทวีปยุโรปจนหมดสิ้นในยุคปัจจุบันแต่ประเพณีนี้กลับเบ่งบานในทวีปอเมริกาหนือและเอเชียจนสร้างปัญหาความรุนแรงให้เกิดขึ้นตามสถาบันการศึกษาจนเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ แคนาดา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย ศรีลังกา รวมทั้งประเทศไทยด้วย จนกระทั่งสหประชาชาติเองต้องเอาประเด็นในเรื่องประเพณีรับน้องที่มีความรุนแรงมาใส่ในเรื่อง สิทธิมนุษยชนในเรื่องการศึกษาด้วย ผู้เขียนบทความ History of Greek Hazing ซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื่อว่าประเพณีการรับน้องมีรากเหง้ามาจากทวีปยุโรปโดยมาจากระบบ Penalism ในภาคพื้นยุโรป และระบบแฟกกิงในอังกฤษ ระบบ Penalism เกิดขึ้นในสมัยกลางประมาณ 700 ปีก่อน เนื่องจากเชื่อว่าน้องใหม่ที่เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยยังขาดการศึกษาไม่เป็นอารยชนต้องผ่านการขัดเกลาด้วยความลำบากก่อนที่จะได้รับชีวิตใหม่ที่ดีในมหาวิทยาลัย เพื่อให้รู้จักประพฤติตัวให้เหมาะสมก็จะถูกบังคับให้ใส่ชุดแปลกๆ ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกเล่นตลกที่หยาบคายหรือถูกพวกว๊ากเกอร์รีดไถเงินหรืออาหารมื้อเย็น สองร้อยปีต่อมาระบบนี้ก็ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการตามมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วยุโรป แต่ว่าเป็นระบบที่อันตราย มีการบันทึกในเรื่องคนเจ็บและคนตายจนผู้ปกครองนักศึกษาหวาดกลัวประเพณีนี้ เมื่อสิ้นสุดสมัยกลางใน 100 ปีถัดมาระบบนี้จึงถูกยกเลิกไป[2]
ในอังกฤษใช้ระบบแฟกกิงโดยเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในประมาณปี พ.ศ. 2310 และได้ถูกนำไปใช้ในมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดและเคมบริดจ์ และโรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์ส ระบบนี้จำกัดอำนาจของครูโดยให้นักเรียนปกครองกันเอง โดยนักเรียนอาวุโสที่เรียกว่า Fag-master หรือ Prefect จะเลือกนักเรียนใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่รับใช้ส่วนตัวหรือ Fag โดยรุ่นพี่ (Fag-master) สามารถใช้งานรุ่นน้อง (Fag)ได้ตามใจชอบ สามารถลงโทษรุ่นน้องที่รุนแรงและใช้วาจาหยาบคายได้ โดยให้รุ่นน้องเรียนรู้เรื่องความอัปยศก่อนที่จะประพฤติตนให้เหมาะสม ซึ่งระบบนี้เสี่ยงกับการใช้อำนาจในทางที่ผิดหรือล่วงละเมิดทางเพศได้ ซึ่งมีสถิติผู้บาดเจ็บ เสียชีวิตและฆ่าตัวตายเกิดขึ้นเช่นกัน และระบบนี้ได้ถึงจุดจุดอิ่มตัวประมาณ 200 ปีก่อน และเลือนหายไปประมาณเมื่อ 100 ปีก่อน เนื่องจากค่านิยมในเรื่องคนรับใช้เปลี่ยนไป แม้จะได้รับการต่อต้านจากรุ่นพี่ที่เคยได้รับประโยชน์จากระบบนี้โรงเรียนกินนอนของอังกฤษได้ตัดสินใจยกเลิกระบบนี้ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2520 เป็นต้นมา โดยเปลี่ยนให้น้องใหม่ทำประโยชน์ต่อสังคมแทนที่จะคอยรับใช้รุ่นพี่ แฟกกิงต่างจาก Penalism คือ รุ่นพี่จะแกล้งรุ่นน้องได้ตลอด แต่ Penalism รุ่นพี่แกล้งน้องในช่วงการรับน้องได้เพียงครั้งเดียว ระบบแฟกกิงนี้ได้ยังคงมีอยู่ตามโรงเรียนกินนอนของประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาใต้ ซึ่งย่นระยะเวลาการเป็นน้องใหม่ให้สั้นลงและเพี้ยนไปเป็น Ragging ซึ่งประเทศไทยเองก็มีโรงเรียนมหาดเล็กซึ่งต่อมาวิวัฒนาการเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยและภปร.ราชวิทยาลัยซึ่งถอดแบบมาจากโรงเรียนกินนอนในอังกฤษและได้ยกเลิกระบบนี้เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน
ผู้อพยพอังกฤษที่ไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐและแคนาดาได้นำระบบแฟกกิงไปใช้ในมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 400 ปีก่อน เช่น ฮาร์วารด์ เยล แต่ว่าคณาจารย์จะเป็นผู้ออกกฎที่เข้มงวดบังคับใช้กับน้องใหม่โดยเฉพาะแทนที่จะเป็นรุ่นพี่ เช่น ต้องเชื่อฟังรุ่นพี่ เป็นต้น แต่หลังจากสหรัฐได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2326 แล้วมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งใหม่ไม่มีการบังคับใช้กฎเกณฑ์แบบนี้กับน้องใหม่ ล่วงมาถึงประมาณ 300 ปีก่อนได้มีการจัดตั้งองค์การนักศึกษาขึ้นตามมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วยุโรป ในสหรัฐได้มีการจัดตั้งสมาคมที่เรียกว่ากลุ่มภราดรภาพ Fraternity สำหรับนักศึกษาชายซึ่งมีลักษณะเป็นสมาคมลับเป็นครั้งแรกขึ้นมาบ้างในปี พ.ศ.2319 ที่วิทยาลัยวิลเลียมส์ แอนด์ แมรี่ ในรัฐเวอร์จิเนียโดยใช้ตัวย่อเป็นอักษรกรีกคือ ฟี เบต้า แคปปา เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจพบของผู้บริหารวิทยาลัย ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2371-2388 มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาได้มีจัดตั้งสมาคมเหล่านี้ขึ้นมาอย่างแพร่หลายและในเวลาต่อมานักศึกษาหญิงก็จัดตั้ง Sorority ขึ้นมาบ้างโดยใช้ตัวย่อเป็นอักษรกรีก เช่น อัลฟ่า เบตา แกมม่า เป็นต้น [2] ล่วงมาถึงประมาณปี พ.ศ.2390 นักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นนำอย่างไอวี่ลีก (Ivy League) ได้แก่ ฮาร์วาร์ด เยล คอร์แนล ปรินซ์ตัน เป็นต้น ได้เริ่มคิดที่จะหาวิธีการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะและความรักสถาบัน ได้คิดวิธีการเทคนิคกดดันน้องใหม่โดยให้น้องใหม่ถูกกลั่นแกล้งให้ได้รับความอับอายที่คนอเมริกันและแคนาดาเรียกว่า Hazing ได้นำหลักการการละลายพฤติกรรมจากโรงเรียนนายร้อยเวสต์ปอยต์และโรงเรียนนายเรือแอนนาโปลิสซึ่งมีความคล้ายคลึงกับระบบ แฟกกิง ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะได้รับการถ่ายทอดจากผู้อพยพจากอังกฤษที่จบจากแซนด์เฮิร์สหรือโรงเรียนกินนอนมาอีกทอดหนึ่ง แต่การรับน้องเป็นไปในลักษณะชั้นปีตามสาขาหรือคณะ (Class Basis) โดยนักศึกษาใหม่ที่จะเข้าร่วมสมาคมเหล่านี้ จะเรียกว่า น้องใหม่ (Neophyte, Freshmen) ซึ่งจะต้องผ่านการรับน้องโดย Hazing หรือระบบว๊ากเพื่อทดสอบความกล้าซึ่งอยู่ไม่มีความรุนแรงอะไรมากนัก[2]มหาวิทยาลัยในแคนาดาซึ่งได้รับอิทธิพลจากทั้งอังกฤษที่ปกครองอยู่และสหรัฐที่เป็นเพื่อนบ้านก็รับเอาประเพณีนี้ไปใช้เช่นกัน อย่างไรก็ตามมีข้อมูลจากหลายแหล่งระบุมีนักศึกษาใหม่เสียชีวิตจากการรับน้องเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลในปี ค.ศ.2416 โดยตกลงไปในเหว[3] แต่ Hank Nuwen (1999) ได้ย้อนรอยไปถึงปี พ.ศ.2381 เมื่อมีนักศึกษาเสียชีวิตที่ Franklin Seminary ในรัฐเคนทักกี (Kentucky) เป็นครั้งแรก